วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อาหารสำรับในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาหารสำรับในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาหารหลักคือ ข้าวเหนียว รับประทานกับกับข้าวหลายอย่าง มีลักษณะดังนี้
1.  อาหารประเภทแกง ส่วนใหญ่เป็นแกงที่ไม่นิยมใส่กะทิ แบ่งออกเป็นประเภทดังนี้
                      1)  แกงที่ใส่เครื่องแกง ประกอบด้วยพริก ตะไคร้ ข่า หัวหอม กระเทียม และเกลือ นำมาโขลกรวมกัน แล้วละลายเครื่องพริกแกงลงในน้ำเดือด ใส่เนื้อสัตว์ ผัก ปรุงรสด้วยน้ำปลา ปลาร้า และเกลือ แต่งกลิ่นด้วยใบแมงลัก แกงจะมีรสเค็มและเผ็ดเล็กน้อย เช่น แกงอ่อม แกงผักหวาน แกงผักขี้เหล็กใส่หนังหมู
                      2)  แกงที่ไม่ใส่เครื่องแกง ประกอบด้วยเครื่องเทศ ได้แก่ ตะไคร้ หัวหอม พริก นำมาทุบพอแตก แล้วใส่ในน้ำแกง ต้มจนเดือด ใส่เนื้อสัตว์และผัก ปรุงรสด้วยน้ำปลา ปลาร้า และเกลือ เช่น แกงหน่อไม้ แกงบางชนิดปรุงรสเปรี้ยว โดยใส่มะนาวหรือผักที่มีรสเปรี้ยว เช่น ต้มปลาใส่ส้ม ต้มไก่ใส่ส้ม
2.  อาหารประเภทยำและพล่า ได้แก่ ลาบ ส้มตำ เนื้อน้ำตก ซุบผัก ซุบหน่อไม้

3.  อาหารประเภทเครื่องจิ้ม ได้แก่ น้ำพริก ซึ่งเรียกว่า แจ่ว หมายถึง น้ำพริกปลาร้า โดยใช้ปลาต้มโขลกรวมกับพริกชี้ฟ้าเผา หอมเผา และกระเทียมเผาให้แหลก แล้วปรุงรสเค็มด้วยน้ำปลาร้า อาจปรุงรสเปรี้ยวด้วยมะเขือเทศเผา หรือน้ำมะนาว รับประทานคู่กับผักสดหรือผักต้ม
4.  อาหารประเภทปิ้ง ยาง เช่น ปิ้งเนื้อ ปิ้งปลาดุก หมกปลาซิว หมกเครื่องในไก่ (นำมาห่อด้วยใบตองเป็นห่อแบนๆ แล้วย่างจนสุก)
5.  อาหารประเภทเครื่องเคียงหรือของแนม เช่น แจ่วพริกแดงและแจ่วพริกแห้ง ซึ่งเป็นแจ่วที่ไม่ได้โขลกเนื้อปลาลงไปด้วย นิยมรับประทานคู่กับปลาดุกย่างพร้อมผักสด
6.  อาหารหวาน ขนมที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ขนมแกงบวด เช่น แกงบวดฟักทอง ข้าวต้มผัด ขนมเทียน ขนมต้ม ข้าวต้มมัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น