การประกอบอาหารสำรับคาวตามกระบวนการทำงาน
เป็นการประกอบอาหารสำรับในท้องถิ่นภาคกลาง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การทำแกงเลียง
ตามกระบวนการทำงานมีขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์งาน เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำแกงเลียง
และศึกษาคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการทำแกงเลียง
ซึ่งวิเคราะห์ได้ดังนี้
ลักษณะงาน แกงเลียงเป็นอาหารสำรับในท้องถิ่นภาคกลาง
จัดเป็นอาหารประเภทแกงที่ใส่เครื่องพริกแกงเลียงและผักสดหลายชนิด
ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผู้ปฏิบัติงานควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำแกงเลียง การจัดเตรียมวัตถุดิบ
เครื่องปรุง ภาชนะ และเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร
ซึ่งจะใช้เวลาในการปฏิบัติงานประมาณ 30 นาที
คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน
ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านอาหาร โภชนาการอาหาร รักความสะอาด มีความประณีต
มีทักษะการวางแผน ทักษะการจัดการ และทักษะการแก้ปัญหา
2. การวางแผนในการทำงาน เป็นการกำหนดกรอบในการทำงาน
โดยสร้างแผนที่ความคิด เพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำงาน ดังนี้
3. การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน เป็นการทำแกงเลียงตามขั้นตอนต่อไปนี้
1) ล้างวัตถุดิบทั้งหมดให้สะอาด
แล้วปอกเปลือกฟักทองและบวบ หั่นเป็นชิ้นพอคำ ข้าวโพดอ่อนหั่นแฉลบ เห็ดฟางผ่าครึ่ง
เด็ดตำลึงและแมงลักเอาเฉพาะยอดและใบอ่อน กุ้งนำมาปอกเปลือก
2) เทน้ำซุปใส่หม้อ ตั้งไฟปานกลางจนเดือด
ใส่เครื่องพริกแกงเลียง พอน้ำแกงเดือดใส่ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน เห็ดฟาง บวบ กุ้ง
ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมรสชาติ
3) รอจนผักสุก ใส่ตำลึง แมงลัก คนให้เข้ากัน
แล้วตักใส่ชาม
4. การประเมินผลการทำงาน เป็นการตรวจสอบรสชาติแกงเลียง ถ้ามีรสชาติจืดเกินไป
ควรเติมน้ำปลาเพิ่มเติม ถ้าต้องการให้ผักในแกงเลียงมีสีสด ควรใส่ผักตอนน้ำเดือดจัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น