1. ประวัติและความเป็นมาของขนมไทย
1.1
สมัยสุโขทัย
ขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย
จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศคือจีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย
มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย
1.2
สมัยอยุธยา
เริ่มมีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตกไทยเรา ยิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ
มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่
เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า
อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทอง
หลานท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมี ต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกสโดย “มารี กีมาร์” หรือ “ท้าวทองกีบม้า”
“ท้าวทองกีบม้า” ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง
เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน
จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง
มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด
ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลู ทองโปร่ง
ขนมผิง และอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ
เหล่านั้นได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบัน
2. ขนมไทยกับประเพณีของไทย
2.1
ประเพณีแต่งงาน ขนมที่จะนำมาเลี้ยงรับรองแขกนี้จะต้องคำนึงถึงความเป็นสิริมงคล ขนมที่ใช้คือ ขนมนมสาว ขนมผิง
ขนมฝรั่ง ขนมบ้าบิ่น ขนมฝักบัว ขนมใส่ไส้ ขนมรังนก ขนมฟองมุก ขนมหน้านวล
ขนมทองม้วน ขนมเล็บมือนาง ขนมหัวผักกาด ขนมชั้น ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง
2.2
ประเพณีบวชพระ งานบวชเป็นงานที่มีผู้มาร่วมงานมากมาย
เจ้าภาพก็ต้อนรับด้วยอาหารคาวหวานนานาชนิด
ขนมไทยที่ใช้ในการเลี้ยงรับรองแขกประกอบไปด้วย ขนมเทียนแก้ว ขนมสำปันนี
ขนมทองเอก ขนมช่อม่วง เม็ดขนุน สังขยา ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง
ขนมเหล่านี้ถือกันว่าเป็นยอดของขนมในสมัยโบราณ
2.3
ประเพณีสงกรานต์ ก่อนถึงวันสงกรานต์หนึ่งวัน คือวันที่ 12 เมษายน
เป็นวันเตรียมซื้อหาสิ่งของสำหรับทำบุญและจัดเตรียมทำขนมกันทุกบ้าน
เพื่อนำไปทำบุญถวายพระและแจกชาวบ้านในวันสงกรานต์ โดยมากเป็นขนมเปียก
ข้าวเหนียวแดง ขนมกะละแม
2.4
ประเพณีสารทไทย ประเพณีทำบุญสารท คือ วันสิ้นเดือน 10
ชาวบ้านนำเอาโภชนาหารพร้อมทั้งกระยาสารทและกล้วยไข่ไปตักบาตรกันที่วัด
2.5
การทำขนมในเทศกาลปีใหม่ของคนไทยสมัยก่อน จึงต้องทำให้เสร็จก่อน วันสงกรานต์
เพราะเมื่อถึงวันงานชาวบ้านจะไปทำบุญเลี้ยงพระและก่อพระเจดีย์ทรายที่วัด แล้วจึงรดน้ำดำหัวเล่นสงกรานต์กันไปทั้ง 7 วัน
ขนมปีใหม่ของไทยจึงเป็นขนมพื้นเมืองที่ทำแล้วสามารถเก็บไว้ได้หลายวัน คือ
ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกะละแม การกวนกะละแมถือว่าเป็นเรื่องใหญ่
ใช่ว่าชาวบ้านจะนิยมกวนกันทุกปี ส่วนใหญ่มักจะทำข้าวเหนียวแก้วบ้าง
ข้าวเหนียวแดงบ้าง สลับกันไป เพราะสองอย่างนี้ทำได้ง่ายกว่า หรือถ้าบ้านไหนตั้งใจจะกวนกะละแมและเป็นครอบครัวใหญ่
มีญาติพี่น้องมาก บรรยากาศช่วงกวนกะละแมคึกคักเป็นพิเศษ
ทุกคนจะช่วยกันเตรียมการประมาณ 2 วัน โดยเฉพาะเด็กๆ
ที่เป็นลูกหลานจะถือเป็นเรื่องสนุกสนาน
เพราะไม่เพียงแต่ได้กินกะละแมก้นกระทะเท่านั้น ยังอาจจะได้กินมะพร้าวเผา อ้อยเผาอีกด้วย
2.6
งานบุญออกพรรษาหรืองานตักบาตรเทโว ข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มผัดเป็นดาวดวงเด่น
ของงานบุญออกพรรษาหรืองานตักบาตรเทโวของภาคกลาง จะห่อเป็นมัดเป็นกลีบ
โดยใช้ใบตองและเชือกกล้วย ส่วนทางใต้ห่อเป็นทรงกรวย โดยใช้ใบกะพ้อแต่ไม่มัดบางท้องถิ่นห่อเป็นก้อนด้วยใบเตยหรือใบอ้อย
แล้วไว้หางยาว เรียกว่า “ข้าวต้มลูกโยน”
การนำข้าวต้มมัดมาใส่บาตรทำบุญจนเกิดขึ้นเป็นธรรมเนียมนั้น
มีจุดประสงค์เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นเสบียงในการเดินทางไปเผยแพร่พระธรรมคำสอน
ซึ่งยึดเป็นแบบแผนมาตั้งแต่สมัยโบราณ
งานมงคลต่างๆ งานแสดงความยินดีและงานมงคลต่างๆ เช่น
งานขึ้นบ้านใหม่งานทำบุญอายุ งานฉลองยศ
ของหวานที่นิยมเลี้ยงพระและเลี้ยงแขก เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญอายุ งานฉลองยศ
ของหวานที่นิยมเลี้ยงพระและเลี้ยงแขก คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก ทองม้วน
ขนมชั้น ขนมเทียน ขนมถ้วยฟู ขนมสี่ถ้วย ซึ่งประกอบด้วย เม็ดแมงลัก ลอดช่อง ข้าวเม่า
ข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือข้าวต้ม น้ำวุ้น
อาหารที่จัดเลี้ยงพระต้องมีเครื่องคาวหวานครบในด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
ของหวานมีความสำคัญต่อชีวิตมาก เป็นสัญลักษณ์ของความสุข การกวนกะละแม
ในงานแต่งงานต้องใช้ญาติมิตรมาช่วยกันมาก เป็นขนมที่แสดงถึงความรัก
ความสามัคคีที่ขาดไม่ได้ สำหรับงานแต่งงานของภาคใต้จะต้องมีกะละแม ข้าวเหนียวแก้ว
ขนมชั้น และขนมหวานอื่นๆ
ขนมในงานมงคลที่เป็นพิธีการนิยมขนมที่มีชื่อและความหมายที่เป็นมงคล 9 ชนิดดังนี้
1. ขนมจ่ามงกุฎ
มีความหมายถึง ความเป็นเลิศ เพราะเป็นสุดยอดของขนมไทย
2.
ขนมทองเอก มีความหมายถึง ความเป็นหนึ่ง
3.
ขนมเสน่ห์จันทร์ มีความหมายถึง ความมีเสน่ห์เป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น
4. ขนมชั้น
มีความหมายถึง ชีวิตที่ประสบแต่ความเจริญเพิ่มพูน
5. ขนมถ้วยฟู
มีความหมายถึง ความเจริญเฟื่องฟู
6.
ขนมฝอยทอง มีความหมายถึง การมีชีวิตที่ยืนยาว
7.
ขนมทองหยิบ มีความหมายถึง ความร่ำรวย หยิบเงินหยิบทอง
8.
ขนมทองหยอด มีความหมายถึง ทำอะไรก็เป็นเงินเป็นทอง
9.
ขนมเม็ดขนุน มีความหมายถึง มีบุญบารมีช่วยเกื้อหนุน
ขนมทั้ง 9 ชนิด จะจัดตกแต่งให้สวยงาม
วางไว้ในพิธีมงคล เพื่อทำบุญเลี้ยงพระเลี้ยงญาติมิตร
และเป็นของขวัญแจกในงานมงคลหรือเทศกาลขึ้นปีใหม่
3. ประเภทของขนมไทย
การแบ่งประเภทขนมไทยตามสมัยโบราณแบ่งเป็น
3 ประเภท ดังนี้
1.
ขนมชั้นดี ได้แก่ ขนมเทียนแก้ว ขนมสัมปันนี ขนมทองเอก ขนมกระจัง ขนมช่อม่วง ขนมมะเขือเทศ เม็ดขนุน
สังขยา ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมเหล่านี้ถือว่าเป็นขนมสมัยโบราณ
และจัดเข้าสำรับสำหรับเลี้ยงพระหรือเลี้ยงแขกไว้เป็นพวกหนึ่ง
2.
ขนมอย่างเลว เป็นขนมที่ทำง่าย คนทำไม่ต้องใช้ฝีมือเท่าใดนัก มีราคาถูก
มักทำอย่างแพร่หลายในตลาด มีเงินก็หาซื้อได้ ได้แก่ ขนมดอกเหล็ก ขนมเปียกปูน
ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ขนมด้วง ขนมครองแครง
ขนมกรวย ขนมใส่ไส้ ขนมทอง
3.
ขนมคนป่วย เป็นขนมที่จัดไว้เป็นพิเศษ รสชาติไม่หวานจัด เพราะคนโบราณ เชื่อว่าคนป่วยรับประทานของหวานจัดไม่ได้
จะแสลงโรค ขนมที่จัดสำหรับคนป่วยมี 6 ชนิด คือ ขนมด้วง ขนมนกกระจอก ขนมเรไร
ขนมพันตอง ขนมปั้นสิบ ขนมไส้ปลา
การแบ่งตามลักษณะของเครื่องปรุงและวิธีการทำและวิธีหุงต้ม
แบ่งได้ดังนี้
1.
ขนมประเภทไข่ เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา จ่ามงกุฎ ฯลฯ
2.
ประเภทนึ่ง เช่น ขนมชั้น ขนมสาลี่ ขนมน้ำดอกไม้ ขนมทราย ฯลฯ
3.
ขนมประเภทต้ม เช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มันต้มน้ำตาล ฯลฯ
4.
ขนมประเภทกวน เช่น ขนมเปียกปูน ซ่าหริ่ม ขนมตะโก้ ฯลฯ
5.
ขนมประเภทอบและผิง เช่น ขนมดอกลำดวน ขนมบ้าบิ่น ขนมหน้านวล ฯลฯ
6.
ขนมประเภททอด เช่น ขนมกง ขนมฝักบัว ขนมสามเกลอ ฯลฯ
7. ขนมประเภทปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง ขนมจาก ฯลฯ
8. ขนมประเภทเชื่อม เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ฯลฯ
9. ขนมประเภทฉาบ เช่น เผือกฉาบ กล้วยฉาบ มันฉาบ ฯลฯ
10. ขนมประเภทน้ำกะทิ เช่น เผือกน้ำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ ฯลฯ
11. ขนมประเภทน้ำเชื่อม เช่น ผลไม้ลอยแก้ว วุ้นน้ำเชื่อม ฯลฯ
12. ขนมประเภทบวด เช่น กล้วยบวดชี แกงบวดเผือก ฯลฯ
13. ขนมประเภทแช่อิ่ม เช่น มะม่วงแช่อิ่ม มะเขือเทศแช่อิ่ม กระท้อนแช่อิ่ม ฯลฯ
7. ขนมประเภทปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง ขนมจาก ฯลฯ
8. ขนมประเภทเชื่อม เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ฯลฯ
9. ขนมประเภทฉาบ เช่น เผือกฉาบ กล้วยฉาบ มันฉาบ ฯลฯ
10. ขนมประเภทน้ำกะทิ เช่น เผือกน้ำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ ฯลฯ
11. ขนมประเภทน้ำเชื่อม เช่น ผลไม้ลอยแก้ว วุ้นน้ำเชื่อม ฯลฯ
12. ขนมประเภทบวด เช่น กล้วยบวดชี แกงบวดเผือก ฯลฯ
13. ขนมประเภทแช่อิ่ม เช่น มะม่วงแช่อิ่ม มะเขือเทศแช่อิ่ม กระท้อนแช่อิ่ม ฯลฯ
รายชื่อขนมไทย
1. จ่ามงกุฎ
2. ช่อม่วง
3. ฝอยทอง
4. ทองหยิบ
5. ทองหยอด
6. เสน่ห์จันทน์
7. หันตรา
8. เม็ดขนุน
9. ลูกชุบ
10. เบื้องไทย
11. นมสาว
12. ลืมกลืน
13. กะละแม
14. เรไร
15. กระยาสารท
16. กลีบลำดวน
17. ข้าวตอกตั้ง
18. พุทรากวน
19. มะม่วงกวน
20. หม้อแกง
21. ข้าวต้มมัด
22. เปียกปูนใบเตย
23. บ้าบิ่น
24. ข้าวเหนียวมูน
25. ข้าวเหนียวแดง
26. วุ้นกะทิ
27. บัวลอย
28. ปลากริมไข่เต่า
29. ข้าวเหนียวถั่วดำ
30. สังขยามะพร้าวอ่อน
ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น